วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Modern Style เรียบหรู อบอุ่น และเ้น้นการใช้งานจริง


Modern Style Never Die



เรียบง่าย เบื่อยาก... รูปแบบการตกแต่งสไตล์ Modern นั้น ได้รับความนิยมมานานพอสมควรแล้ว ตั้งแต่สมัยที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศยุโรป จากเดิมที่เน้นการตกแต่งแบบเวิ่นเว้อ เช่น Baroque และ Rococo ก็หันมาตกแต่งในรูปแบบที่เรียบง่ายขึ้นเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจและการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆได้ ปัจจุบันแม้ว่าสไตล์ Modern จะพัฒนารูปแบบมากขึ้นแล้ว แต่ยังคงมีรูปแบบที่เน้นการใช้งาน(Functional) มีความเรียบง่ายแต่ดูเก๋ ใช้เส้นสายขององค์ประกอบและเฟอร์นิเจอร์เป็นแบบกราฟฟิค นำรูปทรงเรขาคณิตสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ทรงกลม มาใช้ การใช้องค์ประกอบที่ดูน้อยเช่นนี้ ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกอยู่สบาย ไม่เลี่ยน ไม่ต้องแต่งห้องบ่อยมากนัก
การแต่งบ้านสไตล์ Modern...จากที่กล่าวไปว่าสไตล์ Modern นี้จะเล่นเส้นสายและองค์ประกอบกราฟฟิค ดังนั้นจะไม่มีการใช้ลวดลายอ่อนช้อยหรือเส้นโค้ง สีสันที่ใช้จะเล่นเพียง 2-3 สีเท่านั้น พื้นที่ในบ้านจะไม่มีการปิดกั้นทางสายตา เพราะจะเชื่อมสเปซให้ดูเห็นทั่วกันหมด เกิดความโปร่งโล่งสบาย อาจใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น และเน้นเฉพาะชิ้นที่จำเป็นเท่านั้น คุณอาจเริ่มลองแต่งด้วยสีขาว เทา ดำก่อนก็ได้ค่ะ หรือแต่งสีขาวเป็นหลักแล้วแซมด้วยสีสดอีกสองสี




 

วัสดุที่ใช้และบรรยากาศ...เนื่องจากอิทธิพลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม การแต่งบ้านแบบนี้ จึงมีการใช้วัสดุใหม่ๆในสมัยนั้น นั่นคือ เหล็ก สเตนเลส กระจกเป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอาจมีวัสดุใหม่ๆให้เลือกใช้อีกมาก เช่น แผ่นอะคริลิก ลามิเนต Hi-Gloss ซึ่งการใช้วัสดุที่มีความแวววาวดังที่กล่าวมานั้น จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการแต่งบ้านแบบนี้มากขึ้น เพราะจะทำให้เกิดมิติเมื่อวัสดุกระทบกับแสงไฟ แสงที่ใช้จะเป็นแบบ Indirect Light นั่นคือการใช้ไฟตามหลืบฝ้าเพดานหรือใต้เคาน์เตอร์ Built-in โดยเน้นไฟบางจุดที่จำเป็นต้องใช้สายตาเช่น โต๊ะทำงาน หรือโต๊ะกินข้าว เป็นต้น



Modern ผสมผสาน...ปัจจุบันสไตล์ Modern ยังคงเป็นที่นิยมเรื่อยมา ด้วยความที่ดูแล้วเบื่อยากและใช้งานได้จริง ดูแลรักษาง่าย จึงไม่มีทีท่าว่าสไตล์ Modern จะถูกลดความนิยมลงไปเลย แต่อาจจะมีการดัดแปลงไปบ้าง เช่นการนำไป Mix&Match กับสไตล์อื่นๆ เช่นการผสมรูปแบบคลาสสิคเข้าไป ก็จะทำให้รูปแบบคลาสสิคดูไม่โบราณจนเกินไป ดังนั้นการนำสไตล์นี้ไปเป็นแม่แบบผสมกับสไตล์อื่นๆให้เข้ากับรสนิยมของคุณ ก็จะทำให้เกิดความน่าสนใจและสนุกในการแต่งบ้านด้วยครับ


เหล็กเสริมคอนกรีต และการจัดวางเหล็กเสริมคอนกรีต main reinforcement


เหล็กเสริมคอนกรีต และการจัดวางเหล็กเสริมคอนกรีต


เนื่องจากความต้านทานของคอนกรีตต่อแรงดึงมีเพียง 10% ของความต้านทานต่อแรงอัดเท่านั้น ลำพังคอนกรีตเองจึงไม่สามารถรับแรงดึงได้สูง แต่โดยเหตุที่เหล็กเป็นวัสดุที่ต้านทานต่อแรงดึงได้ดี อีกทั้งมีสัมประสิทธิ์การยึดหดตัวเท่าๆ กับคอนกรีต 


ดังนั้นการใช้เหล็กเส้นหรือเหล็กท่อนร่วมกับคอนกรีต โดยหล่ออยู่ในเนื้อคอนกรีตในลักษณะที่ให้คอนกรีตรับแรงอัด และเหล็กรับแรงดึงจึงได้ผลดี การที่ใช้เหล็กเสริมร่วมกับคอนกรีตในลักษณะดังกล่าว เรียกว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้คอนกรีตห่อหุ้มเหล็กนี้ จะทำให้เหล็กทนทานต่อความร้อน และป้องกันการเป็นสนิมผุกร่อนได้ดี ช่วยให้เหล็กมีความต้านทานต่อแรงดึงได้เต็มที่  ดังนั้นคอนกรีตเสริมเหล็กจึงมีความต้านทานต่อแรงต่างๆ ที่กระทำได้ดีกว่าคอนกรีตล้วนเพียงอย่างเดียว


เหล็กเสริมคอนกรีตที่ใช้กันอยู่ตามธรรมดาทั่วไปเป็นเหล็กกล้าละมุน (mild steel) รีดร้อน มีหน้าตัดกลมเรียบ และเป็นเส้นตรง มีความยาวมาตรฐาน 10 และ 12 เมตร สำหรับความยาวอื่นที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจสั่งโรงงานทำได้ หากต้องการเป็นจำนวนมาก การซื้อขายคิดเป็นกิโลกรัมหรือตัน ไม่ควรใช้เหล็กเสริมที่มีขนาดต่ำกว่า 9 มม. เว้นแต่เหล็กปลอก หรือเหล็กลูกตั้ง ทั้งนี้เพราะเหล็กขนาดเล็กมีราคาแพงกว่าเมื่อคิดตามน้ำหนัก


เพื่อให้เหล็กเสริมมีกำลังรับแรงดึงได้ดีจำเป็นต้องมีการยึดเหนี่ยวที่ดีระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริมในสมัยก่อนเหล็กท่อน หรือเหล็กเส้นมีหน้าตัดกลมเรียบหรือสี่เหลี่ยม ซึ่งมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตกับเหล็กไม่ดีเท่าที่ควร  ทำให้เหล็กเสริมไม่สามารถรับแรงดึงได้ดีเท่าที่คาดหมายไว้ ในปัจจุบันจึงได้มีการผลิตเหล็กข้ออ้อยซึ่งมีปล้องหรือครีบเกลียวที่ผิวตามความยาว ซึ่งช่วยให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรีตกับเหล็กดีขึ้นมากถึงสองเท่าของเหล็กเส้นกลม เหล็กเสริมที่ใช้จะลำเลียงมายังที่ก่อสร้างเป็นมัดๆ และผูกป้ายแสดงเครื่องหมาย จึงควรเก็บเหล็กเสริมเป็นชั้นๆ ตามขนาดต่างๆ กัน โดยมีที่รองรับ และปกคลุมมิให้เปื้อนดินโคลน และฝน เหล็กเสริมต้องไม่ชำรุด ไม่ดุ้ง ไม่งอ หรือไม่เป็นสนิมมาก ในระหว่างที่เก็บ หรือในขณะที่ลำเลียงมา เหล็กที่เป็นสนิมบางๆ สีแดงๆ นับว่าไม่เสียหาย ความขรุขระที่ผิวจะทำให้การยึดเหนี่ยวดีขึ้น แต่ถ้าเป็นสนิมมากจนหนาเป็นเกล็ด ซึ่งจะหลุดโดยง่ายเมื่อถูด้วยกระสอบ หรือแปรงด้วยแปรงลวด หรือวิธีอื่นๆ ก็ควรขจัดออกเสียให้หมด สิ่งที่มักจะพบเคลือบอยู่ตามส่วนต่างๆ ของเหล็กเสริมก็คือ สี น้ำมัน ไขมัน โคลนแห้งๆ มอร์ต้าบางๆ ที่กระเด็นมาแห้งติดกรังอยู่บนเหล็กเสริมก่อนที่จะเทคอนกรีต ถ้ามอร์ต้าที่แห้งติดอยู่นั้นมีกำลังน้อยหรือไม่มีเลยก็ควรจะแปรงออกจากเหล็กนั้นและเอาออกจากแบบให้หมด แต่ถ้าแกะออกยากแม้ปล่อยไว้เช่นนั้นก็อาจจะไม่เป็นภัยก็ได้ แต่ก็ควรที่จะทำความสะอาดให้ได้มากที่สุด


การวางเหล็กเสริม ต้องวางในตำแหน่งที่ถูกต้อง และอย่างน้อยจะต้องมีเหล็กเสริมส่วนที่คอนกรีตต้องรับแรงดึง และมีที่หนุนรองรับแข็งแรงพอ เพื่อให้คอนกรีตหุ้มถูกต้องตามแบบ ซึ่งอาจเป็นแท่งคอนกรีต ขาตั้งโลหะ เหล็กปลอก หรือเหล็กยึดระยะเรียงก็ได้ และยึดไว้แน่นหนาพอ ซึ่งอาจผูกยึดด้วยลวดเหล็กเบอร์ 18

ระยะคลาดเคลื่อนที่ยอมให้สำหรับการวางเหล็กเสริมในโครงสร้างที่รับแรงดัดในผนังและเสา มีดังนี้
- ความลึกประสิทธิผล d ไม่เกิน 50 ซม. ยอมให้คลาดเคลื่อนได้  + 0.50 ซม.
- ความลึกประสิทธิผล d มากกว่า 50 ซม. ยอมให้คลาดเคลื่อนได้  + 1.00 ซม.
สำหรับตำแหน่งดัดเหล็กคอม้า และตำแหน่งปลายสุดของเหล็กเสริม วัดตามยาวของโครงสร้าง ยอมให้คลาดเคลื่อนได้+ 5 ซม. แต่ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มปลายเหล็กเสริมน้อยกว่าค่าที่กำหนด


1. ระยะเรียงของเหล็กเสริม

1.1 ระยะเรียงของเหล็กเสริมเอกในผนังหรือพื้น ต้องไม่เกิน 3 เท่าของความหนาของผนังหรือพื้น หรือไม่เกิน 30 ซม.
1.2 ระยะช่องว่างระหว่างผิวเหล็กตั้งในเสาทุกชนิด ต้องไม่น้อยกว่า 1 ½ เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็ก หรือ 1 ½ เท่าของขนาดวัสดุผสมหยาบใหญ่สุด
1.3 ช่องว่างระหว่างผิวที่อยู่ในชั้นเดียวกันของเหล็กเสริมตามยาวในคาน จะต้องมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็ก หรือ 1.34 เท่า ของขนาดโตสุดของวัสดุผสมหยาบ หรือ 2.5 ซม. และต้องเรียงเหล็กแต่ละชิ้นให้ตรงกันเพื่อเทคอนกรีตได้สะดวก
1.4 เมื่อเหล็กเสริมตามยาวของคานมีมากกว่าหนึ่งชั้น ช่องว่างระหว่างผิวเหล็กแต่ละชั้นต้องไม่น้อยกว่า 2.5 ซม. และต้องเรียงเหล็กแต่ละชั้นให้ตรงกัน เพื่อเทคอนกรีตได้สะดวก

2. ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็ก
 ที่วัดจากผิวเหล็ก ต้องไม่น้อยกว่าเกณฑ์ต่อไปนี้ (ควรใช้ตามมาตรฐาน วสท. เป็นหลัก)
2.1 พื้นและคานดินที่เทลงบนดินโดยไม่มีไม้แบบท้องคาน …..……….…….6 ซม.
2.2 พื้นและคานดินที่ใช้ไม้แบบท้องคาน
สำหรับเหล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. ขึ้นไป ………………………….…4 ซม.
2.3 พื้น และคานดินที่ใช้ไม้แบบท้องคาน
สำหรับเหล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 15 มม. ลงมา……………….……3 ซม.
2.4 พื้นและคานในร่มที่ไม่ถูกดิน แดด และน้ำโดยตรง…………..…………..2 ซม.
ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มปลอกเหล็กของเสาทุกชนิด ต้องไม่น้อยกว่า 3 ซม.หรือ 1 ½ เท่า ของขนาดวัสดุผสมหยาบที่ใหญ่สุด และต้องเป็นเนื้อเดียวกันกับคอนกรีตภายในแกนเสา

3. การยึดปลายเหล็กเสริมตามยาว

3.1 ปลายเหล็กเสริม ต้องปล่อยเลยจุดที่ไม่ต้องรับแรงไปอีกไม่น้อยกว่าความลึกของคานหรือไม่น้อยกว่า 12 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กเสริมปลายเหล็กเสริม อาจทำเป็นขอตามข้อกำหนด “ ของอมาตรฐาน ” และมีระยะที่ฝังเพียงพอ
3.2 เหล็กเสริมรับโมเมนต์บวก ต้องยื่นเข้าไปในที่รองรับไม่น้อยกว่า 15 ซม.เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามสำหรับคานช่วงเดียว และไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่สำหรับคานต่อเนื่อง
3.3 เหล็กเสริมรับโมเมนต์ลบ ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม จะต้องปล่อยเลยจุดดัดกลับโมเมนต์เป็นระยะไม่น้อยกว่าความลึกของคานหรือหนึ่งในสิบหกของช่องว่างของคาน

4. การต่อดามเหล็กเสริม
 โดยปกติจะไม่ยอมให้มีการต่อเหล็กเสริม นอกจากที่แสดงไว้ในแบบหรือได้ระบุไว้ การต่อเหล็กเสริมนี้อาจต่อโดยวิธีทาบ วิธีเชื่อม หรือการต่อยึดปลายแบบอื่นๆ ก็ได้  ที่ให้มีการถ่ายแรงได้เต็มที่ การต่อเหล็กเสริมโดยปกติ ต้องมีระยะเหลื่อมกันไม่น้อยกว่า 50 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางสำหรับเหล็กกลม และไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางสำหรับเหล็กข้ออ้อย ควรหลีกเลี่ยงการต่อเหล็กเสริม ณ จุดที่เกิดหน่วยแรงสูงสุดเท่าที่จะทำได้ และไม่ควรใช้วิธีต่อทาบกับเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 25 มม. (ควรใช้ตามมาตรฐาน วสท. เป็นหลัก)
4.1 การต่อเหล็กเสริมรับแรงดึง ความยาวของเหล็กข้ออ้อยที่นำมาต่อทาบกัน จะต้องไม่น้อยกว่า 24, 30 และ 36 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กที่มีกำลังจุดคลาก 2,800, 3,500 และ 4,200 กก./ซม.2ตามลำดับ หรือไม่น้อยกว่า 30 ซม.สำหรับเหล็กเส้นผิวเรียบ ระยะทาบที่ใช้จะเป็น 2 เท่าของค่าที่กำหนดไว้สำหรับเหล็กข้ออ้อย
4.2 การต่อเหล็กเสริมรับแรงอัด สำหรับคอนกรีตที่มีกำลังอัด 200 กก./ซม.2 หรือสูงกว่านี้ ระยะทางของเหล็กข้ออ้อยจะต้องไม่น้อยกว่า 20, 24 และ 30 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กที่มีกำลังจุดคลากเท่ากับ 3,500 หรือน้อยกว่า และค่า 4,200 กับ 5,200 กก./ซม.2  ตามลำดับ และต้องไม่น้อยกว่า 30 ซม. ถ้ากำลังอัดของคอนกรีตมีค่าต่ำกว่า 200 กก./ซม.2  ระยะทางจะต้องเพิ่มอีกหนึ่งในสามของค่าข้างต้น สำหรับเหล็กเส้นผิวเรียบ ระยะทาบอย่างน้อยจะต้องเป็น 2 เท่า ของค่าที่กำหนดไว้สำหรับเหล็กข้ออ้อย

5. เหล็กเสริมตามขวาง

5.1 ในเสาปลอกเดี่ยว เหล็กยืนทุกเส้นจะต้องมีเหล็กปลอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 6 มม.พันโดยรอบ โดยมีระยะเรียงของเหล็กปลอกไม่ห่างกว่า 16 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กยืน หรือ 48 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กปลอก ด้านแคบที่สุดของเสานั้นจะต้องจัดให้มุมของเหล็กปลอกยึดเหล็กยืนตามมุมทุกมุม และเส้นอื่นๆ สลับเส้นเว้นเส้น โดยมุมของเหล็กปลอกนั้นต้องไม่เกินกว่า 135 องศาเหล็กเส้นที่เว้นต้องห่างจากเส้นที่ถูกยึดไว้ไม่เกิน 15 ซม. ถ้าเหล็กยืนเรียงกันเป็นวงกลม อาจใช้เหล็กปลอกพันให้ครบรอบวงนั้นก็ได้
5.2 ในเสาปลอกเกลียว ต้องพันเหล็กปลอกเกลียวต่อเนื่องกันเป็นเกลียวที่มีระยะห่างสม่ำเสมอกัน และยึดให้อยู่ตามตำแหน่งอย่างมั่นคงด้วยเหล็กยึด จำนวนของเหล็กยึดที่ใช้ ขึ้นอยู่กับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงปลอกเกลียว  เหล็กปลอกควรมีขนาดใหญ่พอ (ไม่น้อยกว่า 6 มม.) และประกอบแน่นหนาพอที่จะไม่ทำให้ขาด ทำให้ระยะที่ออกแบบไว้คลาดเคลื่อนเนื่องจากการย้ายและติดตั้ง ระยะเรียงศูนย์ถึงศูนย์ของเหล็กปลอกเกลียวต้องไม่เกินหนึ่งในหกของเส้นผ่านศูนย์กลางแกนคอนกรีต ระยะช่องว่างระหว่างเกลียว ไม่ห่างเกินกว่า 7 ซม.หรือแคบกว่า 3 ซม.หรือ 1 ½ เท่า ของขนาดโตสุดของวัสดุผสมหยาบ การใส่เหล็กปลอกเกลียวต้องพันตลอดตั้งแต่ระดับพื้น หรือจากส่วนบนสุดของฐานรากขึ้นไป ถึงระดับเหล็กเสริมเส้นล่างสุดของชั้นเหนือกว่า ในเสาที่มีหัวเสาจะต้องพันเหล็กปลอกเกลียวขึ้นไปจนถึงระดับที่หัวเสา ขยายเส้นผ่าศูนย์กลางหรือความกว้างให้เป็นสองเท่าของขนาดเสา
5.3 ในคาน เหล็กปลอกที่ใช้ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม. และเรียงห่างกันไม่เกิน 16 เท่า ของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเสริมหรือ 48 เท่า ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กปลอก ในคานที่มีเหล็กเสริมรับแรงอัดจะต้องใส่เหล็กปลอกตลอดระยะที่ต้องการเสริมเหล็กเสริมรับแรงอัด
5.4 เหล็กเสริมด้านการยืดหด ในพื้น ค.ส.ล. ที่ใช้เป็นส่วนอาคาร หรือหลังคา  ซึ่งเสริมเหล็กรับแรงทางเดียว  จะต้องเสริมเหล็กในแนวตั้งฉากกับเหล็กเสริมอกเพื่อรับแรงเนื่องจากการยืดหด ขนาดของเหล็กที่ใช้ต้องไม่เล็กกว่า 6 มม.และเรียงเหล็กห่างกันไม่เกิน 3 เท่า ของความหนาของแผ่นพื้น หรือ 30 ซม. ปริมาณของเหล็กเสริมที่ใช้จะต้องมีอัตราส่วนเนื้อที่เหล็กต่อหน้าตัดคอนกรีตทั้งหมด ไม่น้อยกว่าค่าที่ให้ไว้ ดังนี้ (ควรใช้ตามมาตรฐาน วสท. เป็นหลัก)
- พื้นซึ่งเสริมด้วยเหล็กเส้นผิวเรียบ…………………………………………..……….…….0.0025
- พื้นซึ่งเสริมด้วยเหล็กข้ออ้อย และมีกำลังจุดคลากน้อยกว่า 4,200 กก./ซม.2……0.0020
- พื้นซึ่งเสริมด้วยเหล็กข้ออ้อย และมีกำลังจุดคลากเท่ากับ 4,200 กก./ซม.2
หรือลวดตระแกรงซึ่งระยะเรียงในทิศที่รับแรงห่างไม่เกิน 30 ซม. …….…………….…0.0018
การออกแบบควรทำรูปเหล็กที่จะต้องดัดให้ง่ายๆ และยิ่งมีน้อยอย่างยิ่งดี เพราะทุ่นค่าแรงดัด การดัดงดขอต่างๆ ต้องทำให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด มิฉะนั้นเมื่อนำไปผูกเป็นโครงจะไม่เข้ากัน และจะทำให้เนื้อคอนกรีตที่หุ้มเหล็กผิดไปจากที่กำหนด ถ้าทำได้ควรผูกเป็นโครงให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงยกเข้าใส่ในแบบ ซึ่งมีที่หนุนรองรับอยู่ให้สูงพ้นแบบตามที่ต้องการ

ต้ิองเสริมเหล็ก ตามที่แบบกำหนดเท่านั้น


ความรู้เบื้องต้นแบบก่อสร้าง Construction Plans Knowleage

ความรู้เบื้องต้นแบบก่อสร้าง    เก็บเป็นรายการโปรด



  • แบบก่อสร้าง เป็นแบบที่เขียนขึ้นมา จากการออกแบบของวิศวกรและสถาปนิก ตามความต้องการของเจ้าของงานและเหมาะสมกับงบประมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในงานก่อสร้าง ให้ถูกต้องตามแบบรูปและรายการ แบบก่อสร้าง ประกอบด้วยแบบสถาปัตยกรรมและแบบวิศวกรรม ดังนี้

  • แบบสถาปัตยกรรม เป็นแบบที่สถาปนิก ออกแบบสถาปัตยกรรม ในส่วน ต่าง ๆ ของอาคาร แสดงลักษณะทางกายภาพของอาคาร วัสดุที่ใช้ และรายการประกอบแบบ เป็นต้น 

  • แบบสถาปัตยกรรม จะกำหนดด้วยอักษรย่อ สถ หรือผู้ที่ไม่นิยมภาษาของชาติตัวเอง แต่นิยมภาษาต่างชาติ จะใช้ A ( สำหรับผม นิยมไทย ครับ ผมใช้อักษรไทยและเลขไทย เป็นปกติอยู่แล้ว ) แบบสถาปัตยกรรม แบ่งเป็น
  • -- ผังที่ตั้ง
  • -- ผังบริเวณ
  • -- ผังพื้นแต่ละชั้น
  • -- รูปด้าน
  • -- รูปตัด
  • -- แบบขยายทางสถาปัตยกรรม 
  • -- รายการประกอบแบบ

  • แบบวิศวกรรมโครงสร้าง เป็นแบบที่วิศวกรโครงสร้าง ออกแบบโครงสร้าง ในส่วน ต่าง ๆ ของอาคาร แสดงตำแหน่งและขนาดของโครงสร้าง รายละเอียดการเสริมเหล็ก รายละเอียดฐานราก และรายการประกอบแบบ เป็นต้น 

  • แบบวิศวกรรมโครงสร้าง จะกำหนดด้วยอักษรย่อ วค หรือผู้ที่ไม่นิยมภาษาของชาติตัวเอง แต่นิยมภาษาต่างชาติ จะใช้ S แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบ่งเป็น
  • -- ผังเสาเข็ม
  • -- ผังฐานราก
  • -- ผังโครงสร้างพื้นแต่ละชั้น
  • -- ผังโครงสร้างหลังคา
  • -- แบบขยายทางโครงสร้าง
  • -- รายการประกอบแบบ

  • แบบวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นแบบที่วิศวกรไฟฟ้า ออกแบบวงจรและขนาดอุปกรณ์ไฟฟ้า ในส่วน ต่าง ๆ ของอาคาร แสดงตำแหน่ง ขนาด ชนิดของสายไฟ วงจรไฟฟ้า และรายการประกอบแบบ เป็นต้น 

  • แบบวิศวกรรมไฟฟ้า จะกำหนดด้วยอักษรย่อ วฟ หรือผู้ที่ไม่นิยมภาษาของชาติตัวเอง แต่นิยมภาษาต่างชาติ จะใช้ E แบบวิศวกรรมไฟฟ้า แบ่งเป็น
  • -- ผังไฟฟ้าแต่ละชั้น
  • -- ผังวงจรไฟฟ้า
  • -- รายการประกอบแบบ

  • แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล เป็นแบบที่วิศวกรสุขาภิบาล ออกแบบระบบสุขาภิบาล ในส่วน ต่าง ๆ ของอาคาร แสดงตำแหน่ง ขนาดและอุปกรณ์ของท่อและสุขภัณฑ์ และรายการประกอบแบบ เป็นต้น 

  • แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล จะกำหนดด้วยอักษรย่อ วส หรือผู้ที่ไม่นิยมภาษาของชาติตัวเอง แต่นิยมภาษาต่างชาติ จะใช้ SN แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล แบ่งเป็น
  • -- ผังการเดินท่อแต่ละชั้น
  • -- ผังการเดินท่อแนวดิ่ง
  • -- แบบขยาย
  • -- รายการประกอบแบบ

  • ตัวอย่างแบบก่อสร้าง ที่แสดงไว้นี้ เป็นแบบที่หน่วยงานในสังกัด ขอตั้งงบประมาณ ชึ่งต้องมีรายละเอียดของโครงการ แบบรูปและรายการ เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ระเบียบของราชการ  และระเบียบอื่น ที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะอนุมัติงบประมาณ

























เสาเข็ม มี กี่ อย่าง แล้ว จะ เลือก ใช้ อย่างไร? Type of Pile

เสาเข็มมีกี่อย่าง แล้วจะเลือกใช้อย่างไร? 
เสาเข็มโดยทั่วไปจะแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ เสาเข็มตอก เสาเข็มเจาะ (ส่วนเสาเข็มพิเศษอื่นๆ เช่น micro pile นั้น หากไม่ใช่วิศวกรก็ไม่น่าจะไปสนใจ) 
เสาเข็มตอกและเสาเข็มเจาะเองก็ยังสามารถแยกออกได้อีกเป็นอย่างละ 2 ประเภท ซึ่งสรุปรวมวิธีการทำงาน 
และจุดดีจุดด้อย สรุปพอสังเขปได้ดังต่อไปนี้


  •  1. เสาเข็มตอกทั่วไป จะมีหน้าตาต่างกันมีทั้งแบบสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม และเป็นรูปตัวไอ ซึ่งทุกอย่างจะมีหน้าตัดตันทั้งต้น เวลาตอกก็ตอกลงไปง่ายๆ อย่างที่เราเห็นกันโดยทั่วไป 



  • 2. เสาเข็มกลมกลวง เป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็มแบบแรก เพราะสามารถทำให้โตกว่าได้ ผลิตโดยการปั่นหมุนคอนกรีตให้เสาเข็มออกมากลมและกลวง เวลาตอกส่วนใหญ่จะขุดเป็นหลุมก่อนแล้วกดเสาเข็มลงไป พอถึงระดับที่ต้องการจึงจะเริ่มตอก ทำให้มีส่วนของเสาเข็มไปแทนที่ดินน้อยลง (ดินถูกขุดออกมาบางส่วนแล้ว) อาคารข้างเคียงเดือดร้อนน้อยลงจากการเคลื่อนตัวของดิน (แต่ความดัง ฝุ่นละออง และความสะเทือนยังคงอยู่) 


  • 3. เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 เมตร (แล้วแต่ระดับชั้นทราย) รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 120 ตันต่อต้นวิธีการก็คือเจาะดินลงไป (แบบแห้งๆ) แล้วก็หย่อนเหล็กเทคอนกรีตลงหลุม ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก ทั้งเรื่องการเคลื่อนตัวของดิน ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น 



  • 4. เสาเข็มเจาะแบบเปียก ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึกๆ แล้วใส่สารเคมีลงไปเคลือบผิวหลุมดินที่เจาะให้ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดินและกันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึกๆ (ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกกว่า 70 เมตร) รับน้ำหนักได้มากและเกิดมลภาวะน้อย แต่ราคาแพง


  • ส่วนการเลือกว่าจะใช้เสาเข็มแบบไหนดีนั้น ต้องตั้งข้อสังเกตและทราบปัญหาก่อน แล้วเปรียบเทียบความจำเป็น ความเป็นไปได้ของแต่ละระบบในแต่ละงาน โดยยึดถึอหลักประจำใจ ในการพิจารณาดังนี้ ก) ราคา ข) บ้านข้างเคียง (มลภาวะ) ค) ความเป็นไปได้ในการขนส่งเข้าหน่วยงาน ง) เวลา (ทั้งเวลาทำงานและเวลาที่ต้องรอคอย)

ปูนซีเมนต์มีกี่ชนิด? Type Of Cement


ปูนซีเมนต์ สำหรับสร้างบ้านเรามีกี่ชนิด


เมื่อเราพูดถึงปูนซีเมนต์ คนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจว่าปูนซีเมนต์ที่ใช้ก่อสร้างบ้านของเราเป็นปูนชนิดใด คิดว่าก็คงเป็นปูนเหมือนๆกัน เพียงแต่ต่างยี่ห้อกัน ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างแรง โดยทั่วไปนั้นปูนซีเมนต์ที่ช่างใช้กันมีอยู่ 2 ชนิด


งานสร้างบ้านใช้ประเภทนี้ทั้งนั้นครับ
  • ชนิดแรกเรียกว่าปูนโครงสร้าง หรือ เรียกตามศัพท์ช่างว่า ปูนแดง ( Portland Cement ) เช่น ตราช้าง ตราพญานาค ตราดอกจิก ซึ่งใช้ทำโครงสร้าง มีพลังอัดสูงและแข็งแรงกว่าใช้ในการเทโครงสร้าง ตอม่อ เสา คาน พิ้น








  • ชนิดที่ 2 หรือ เรียกตามศัพท์ช่างว่า ปูนเขียว หรือ ปูนก่อปูนฉาบ ( Silica Cement ) เช่น ตราเสือ ตรางูเห่า ตรานกอินทรี ซึ่งมีกำลังอัดน้อย จะใช้สำหรับงานก่ออิฐ หรืองานฉาบปูนเท่านั้น ระยะหลังมีวัสดุใหม่ๆที่ใช้เพื่อทดแทนอิฐประเภทเก่า จึงมีปูนสำหรับก่อและฉาบสำหรับวัสดุชนิดนั้น งานก่อ งานฉาบ และปูกระเบื้องใช้ปูนเขียวครับ 




วิศวกรโดยส่วนใหญ่จะคำนวณโครงสร้างโดยใช้มาตรฐานกำลังอัดของปูนโครงสร้าง ( Portland Cement ) พอมาทำจริงๆ หากผู้ก่อสร้างใช้ปูนก่อฉาบ ( Silica Cement ) ซึ่งแข็งแรงน้อยกว่า โครงสร้างบ้านของคุณก็จะไม่แข็งแรง ดังนั้นเวลาก่อสร้างเราควรตรวจสอบช่างด้วยว่าใช้ปูนชนิดใดทำงานให้เรา แต่ตอนนี้คอนกรีตสำเร็จเป็นที่นิยมมากขึ้น เขาผสมปูน ทราย หิน มาจากโรงงานเลย เพื่อใช้ทำโครงสร้าง ถ้าเป็นแบบนั้นก็พอเชื่อถือได้ดี แต่หากเป็นตึกใหญ่ๆ ก็ต้องคอยตรวจคุณภาพของปูนสำเร็จนั้นจากใบส่งของด้วย เพื่อความมั่นใจว่าคอนกรีตสำเร็จที่ส่งมานั้นมีความแข็งแรงเป็นไปตามที่วิศวกรท่านคำนวณเอาไว้

สร้างบ้าน ง่ายๆ กับนายพอเพียง Build a home with Nai Por Peang

ขั้นตอนควรรู้ ในการสร้างบ้าน

โดย นายพอเพียง (์Nai Por Peang) หวัดดีครับท่านผู้ชม กระผมยอดชายนายพอเพียง อยากมีบ้านดีๆ สักหลัง แต่เราไม่มีข้อมูลเลยทำอย่างไรดี วันนี้ผมนายพอเพียง จะมาแนะนำขั้นตอนการสร้างบ้านแบบง่ายๆ ไม่ต้องมีความรู้เรื่องก่อสร้างก็ทำได้ แล้วยังใงละ ? ไปดูกันเลยครับ


อยากมีบ้านสวยๆ สักหลัง ไม่อยากเกินความสามารถ และงบประมาณไม่มากครับ แต่ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา มีพรรคพวกเพื่อนพ้องท่านสะกิดผมยิกๆ “นี้แน่ะ...นายพอเำีพียงจะสร้างบ้านทั้งทีทำไมมันยุ่งยากจังฟะ อยากสร้างแบบต้องทำอย่างไรบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร เอาแบบถูกๆ พอเพียง แนะนำหน่อยสิ...”




  •  1.ความต้องการของคุณเป็นอย่างไร ต้องการบ้านแบบไหน เลือกระหว่างหมู่บ้านจัดสรร หรือปลูกสร้างเอง ในวันนี้เราจะแนะนำในการปลูกสร้างบ้านเองนะครับ 


ขั้นตอนแรกคือ ต้องมีที่ดินที่ต้องการจะสร้าง ขั้นต่ำในการสร้างบ้านสองชั้นคือ 50 ตารางวา ครับ


จะเป็นที่ดินรกร้าง หรือบ่อน้ำก็ได้ครับแต่จะต้องถมก่อนนะครับ 


  • 2.หลังจากนั้นก็เลือกแบบ้านที่สามารถปลูกสร้างในที่ดินของเราได้ โดยต้องคำนวณระยะร่น ตามกฏหมาย หรือขนาดตัวบ้านให้พอดีกับที่ดินนะครับ แนะนำให้ชื้อแบบสำเร็จรูปเพราะราคาถูกกว่าเขียนใหม่ แต่จะอาจไม่สวยถูกใจเราก็ได้ หากมีทุนทรัพย์เพียงพอก็ให้สถาปนิกมาเขียนให้ใหม่ครับ แต่ราคาจะสูง จากนั้นก็หาผู้รับเหมามาทำการก่อสร้างครับ หาได้ทั้งทางอินเตอร์เน็ต และข้างถนน อิอิ แนะนำให้ดูที่มีผลงาน และไม่เบิกเงินล่วงหน้ามากจนเกินไปครับ   


ตัวอย่างบบบ้าน
ตัวอย่างแปลนบ้าน 


  • 3.เริ่มทำการปลูกสร้าง โดยจัดเตรียมที่ดิืนให้เรียบร้อย เช่น ถางหญ้า ถมที่ดิน งานสำรวจหน้างานและงานจัดเตรียมหน้างาน -งานสำรวจหน้างาน -งานปรับระดับดิน ก่อนการก่อสร้างบ้านจะต้องมีการปรับที่ดินให้มีความเหมาะสม โดยการถมและขุด หรือบางทีอาจจะใช้ทั้ง การถมและการขุดไปด้วยกัน เช่น การขุดเพื่อทำสระน้ำ, สระว่ายน้ำ, แล้วนำที่ดินที่เหลือ จากการขุดไปถม ในส่วนที่จะทำ การก่อสร้างบ้าน ให้สูงขึ้นเป็นเนิน เป็นต้น






  • 4.ผู้ีัรับเหมาจะเริ่มทำการวางผัง เพื่อหาจุดที่ต้องตอกเข็ม ตามแบบแปลนบ้านที่เราเลือกจะก่อสร้างครับ โดยเข็มจะมี สองประเภทคือ เข็มเจาะและเข็มตอก เข็มตอกจะมีราคาถูกกว่าเข็มเจาะ แจ่ข้อจำกัดคือต้องห่างจากเพื่อนบ้านเรา 10 เมตรครับ ไม่งั้นเพื่อนบ้านเราบ้านร้าวแน่นอน และเราต้องรับผิดชอบด้วย แหะๆ ไม่คุ้มเลยครับ



ส่องกล้องวางผังครับ


เมื่อได้ตำแหน่งก็จะตอกหมุด พ่นสีไว้ครับ


ปั่นจั่นตอกเข็็มครับ


เข็มจมในดินครับ ความลึกอยู่ที่ประมาณ 20 - 21 เมตรแล้วแต่ชั้นดินของแต่ละพิ้นที่ จะนำเสนอในคราวหน้าครับ



  •  5.เมื่อทำการตอกเข็มเสร็จแล้ว เราก็จะทำงานขุดหลุมตอม่อ ตามที่แบบกำหนดบ้าร ใช้เหล็กอะไร ขนาดตอม่อเท่าใหร่ เราก็จะทำการเข้าแบบ เพื่อเทคอนกรีตลงไปครับ การเข้าแบบมีกลายวิธีครับไว้จะนำเสนอในคราวหน้าครับ




ขุดหลุมให้ได้ขนาด



ก้นหลุมต้องเท lear concert ด้วย เพื่อไม่ให้คอนกรีตสัมพัสกับดินโดยตรง กันกำลังอัดหายครับ


อ่าเสร็จแล้วเอ้าพสกเรายกเหล็กลงหลุมกัน อิิอิ



เอาอิฐบล๊อคมาก่อเป็นแบบก็ได้ ไม่ต้องรื้อ บ่มคอนกรีตไปในตัว อิิอิ


อ้าวเทเสร็จแล้ว ไวจัง เช็คระดับด้วยนะ (Footing Level)



  •  6.งานเข้าเหล็กคาน วางแผ่นพิ้นคอนกรีตสำเร็จรูป และตั้งเสาขึ้นเพื่อรับคานชั้นต่อไป ต้องใช้เหล็กตามที่แบบกำหนด พร้อมเหล็ดเสริม งานนี้จะมีงานระบบประปา ที่ฝังได้ตินเกี่ยวข้องด้วย ถ้าบ้านเรามีระบบกำจัดปลวก ต้องติดตั้งตอนนี้เท่านั้นนะครับ ย้ำนะครับ งานเหลฺ็กตามแบบวิศวกรรม




เหล็กมาแล้ว ต้องดูที่เป็นเหล็กเต็มด้วยนะจ๊ะ ไว้จะมาบอกอีกทีรายละเอียดเยอะ



เข้าเหล็กคานแล้วจ้า ท้องคานต้องเท lear concert ด้วยนะจ๊ะ เหตุผลเหรอ ไม่ให้น้ำปูนซึมดินไปหมดน่ะ


  

อ่า เริ่มเข้าแบบแล้ว



ห้องน้ำต้องเทเท่านั้นนะจ๊ะ ห้ามใช้แผ่นพิ้น รั่วซึมไม่รุด้วยนะจ๊ะ



เฮ้้ย เทเสร็จแล้วหรอไวจังพี่ เช็ถระดับคานด้วยนะเดี๋ยวจะวางแผ่นไม่ตรง ไว้จะอธิบายทีหลัง อีกแระ อิอิ


เสร็จแล้ว ให้ปลวกมาทำรังได้เลย เอ๊ยไม่ใช่ ให้บริษัทจำกัดปลวก มาจัดการเดินระบบน้ำยาไว้ก่อนที่จะวางแผ่นพิ้นนะ ไม่งั้นแย่




นี่ใงที่บอกอะ ต้องเดินระบบประปาก่อนที่จะเทด้วย ตามแบบกำำหนด



อย่าลืมถัง Zag ละ


เมื่อทุกอย่างโอเคก็ โหลดปูนมาเลย เอาเครนมาจอดรอ เทโลด เอ๊ะ แต่อย่าลืม เช็คระดับพิ้นเด้วยนะ ปูกระเบื้องหนาไม่รุด้วย อิอิ


ชั้นสองทำเหมือนก้นเลย เสาชั้นสองอย่าลืมคำนวณ ความสูงของหลังคาด้วยนะ ไม่งั้นจะโดนเขตเล่นเอา ต้องอย่าให้เกินตามแบบ



อย่าลืมทำบันไดละ




  •  7.อ่า ถึงขั้นตอนการทำหลังคากันแล้วครับ ทำโครงเหล็กตามแบบก่อน หลังจากนนั้นก็มุง พร้อมยิงเชิงชาย





พ่นสีกันสนิมก่อน เร็วดี ทามันช้า



เสร็จแล้ว



ทำตามแบบเลย จะจั่วหรือหมาแงน ตามใจ อิอิ ไว้จะอธิบายเื่องโครงสร้างของหลังคาให้ฟังนะ อิอิ




ยิงเชิงชายก่อนมุงนะจ๊ะ



หลังตามาส่งแล้ว ขึ้นไปมุงได้เลยเด็กๆ!




ชื้้อฉนวนกันร้อยมาปูสักหน่อย บ้านเย็นขึ้นเยอะ ไม่แพงครับ ปูก่อนมุงนะ





มุงเสดแล้วจ๊ะ สวยไหม  


  •  8.ถึงขั้นตอนการก่ออิฐ ฉาบปูน ชึ่งมีงานเกี่ยวข้อง คือ ประปา ไฟฟ้า งานปประตูและหน้าต่าง



       อิฐมีสามประเภทใหญ่ๆ นะครับ อิฐมอญ อิฐบล๊อค และอิฐชุปเปอร์บล๊อค ไว้จะมาเปรียบเทียบให้ฟัง



ตึกหลังนี้ ใช่อิฐแดงก่อทั้งหลังนะครับ พอเราก่อเสร็จ เราก็จะมาทำการ ขับเชี้ยม หรือมุม ตามคานและเสาเพื่อจะฉาบต่อไปครับ



ฉาบภายนอก



สังเกตุ จะต้องมีเสาเอ็นและทับหลังเพื่อป้องกันและลดการแตกร้าวตามมุมครับ


หลังจากจับเชี้ยมแล้ว ต้องให้ได้ขนาดพอดีกับหน้าที่ระบุตามแบบ


เชี้ยมฉาบบันได้ด้วยนะ


ตั้งวงกบประตูตามแบบ



เดินระบบประปา ท่อน้ำดี และไฟฟ้า ให้เรียบร้อยก่อนฉาบ


ฉาบปูนได้ 


9. งานฝ้าเพดาน ติดตั้งบานประตู หน้าต่าง ปูกระเบื้อง บัว ดวงโคมม และทาสี เสร็จเป็นบ้านหนึ่งหลังครับ




ก่อนจะติดตั้ง ต้องยิงโครงฝ้า ให้ได้ระดับตามที่กำหนดในแบบ ความสูงและระยะห่างในแต่ระโครงต้องให้ได้มารฐานเพื่อป้องกันการแ่อ่นตัวของฝ้า



จะเอาหลุมต้องเสริมโครงเพื่อไว้ด้วย เสร็จโครงนำแผ่นยิปชั่มมายิง ตามโครงเคร่าสังกะสี
โป๊แต่งหัวน๊อตและรอยต่อระหว่างแผ่นด้วยปนยิปชั่ม
ขัดแต่งให้เรียบเนียนพร้อม ที่จะทาสี



ทาสีฝ้า ก่อนที่จะเจาะดาวน์ไลท์ตามตพแหน่งในแบบ



เริ่มทาสีผนังภายใน แลพภายนอก




ติดตั้งบานประตูและหน้าต่าง



ปูกระเบื้องหรือ ลามิเนตตามแแบบ พร้อมติดบัว



สวยไหม




ติดตั้สุขภัฑ์ณ






ติดตั้งดวงโตม สวืทย์ ปลั้ก และ Breaker ให้เรียบร้อย


และแล้วเราก้ได้บ้านเป็นชองเราเสียที ไม่ยากจนเกินไปใช่ไหมครับ วันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ