วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เสาเข็ม มี กี่ อย่าง แล้ว จะ เลือก ใช้ อย่างไร? Type of Pile

เสาเข็มมีกี่อย่าง แล้วจะเลือกใช้อย่างไร? 
เสาเข็มโดยทั่วไปจะแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ เสาเข็มตอก เสาเข็มเจาะ (ส่วนเสาเข็มพิเศษอื่นๆ เช่น micro pile นั้น หากไม่ใช่วิศวกรก็ไม่น่าจะไปสนใจ) 
เสาเข็มตอกและเสาเข็มเจาะเองก็ยังสามารถแยกออกได้อีกเป็นอย่างละ 2 ประเภท ซึ่งสรุปรวมวิธีการทำงาน 
และจุดดีจุดด้อย สรุปพอสังเขปได้ดังต่อไปนี้


  •  1. เสาเข็มตอกทั่วไป จะมีหน้าตาต่างกันมีทั้งแบบสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม และเป็นรูปตัวไอ ซึ่งทุกอย่างจะมีหน้าตัดตันทั้งต้น เวลาตอกก็ตอกลงไปง่ายๆ อย่างที่เราเห็นกันโดยทั่วไป 



  • 2. เสาเข็มกลมกลวง เป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็มแบบแรก เพราะสามารถทำให้โตกว่าได้ ผลิตโดยการปั่นหมุนคอนกรีตให้เสาเข็มออกมากลมและกลวง เวลาตอกส่วนใหญ่จะขุดเป็นหลุมก่อนแล้วกดเสาเข็มลงไป พอถึงระดับที่ต้องการจึงจะเริ่มตอก ทำให้มีส่วนของเสาเข็มไปแทนที่ดินน้อยลง (ดินถูกขุดออกมาบางส่วนแล้ว) อาคารข้างเคียงเดือดร้อนน้อยลงจากการเคลื่อนตัวของดิน (แต่ความดัง ฝุ่นละออง และความสะเทือนยังคงอยู่) 


  • 3. เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 เมตร (แล้วแต่ระดับชั้นทราย) รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 120 ตันต่อต้นวิธีการก็คือเจาะดินลงไป (แบบแห้งๆ) แล้วก็หย่อนเหล็กเทคอนกรีตลงหลุม ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก ทั้งเรื่องการเคลื่อนตัวของดิน ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น 



  • 4. เสาเข็มเจาะแบบเปียก ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึกๆ แล้วใส่สารเคมีลงไปเคลือบผิวหลุมดินที่เจาะให้ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดินและกันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึกๆ (ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกกว่า 70 เมตร) รับน้ำหนักได้มากและเกิดมลภาวะน้อย แต่ราคาแพง


  • ส่วนการเลือกว่าจะใช้เสาเข็มแบบไหนดีนั้น ต้องตั้งข้อสังเกตและทราบปัญหาก่อน แล้วเปรียบเทียบความจำเป็น ความเป็นไปได้ของแต่ละระบบในแต่ละงาน โดยยึดถึอหลักประจำใจ ในการพิจารณาดังนี้ ก) ราคา ข) บ้านข้างเคียง (มลภาวะ) ค) ความเป็นไปได้ในการขนส่งเข้าหน่วยงาน ง) เวลา (ทั้งเวลาทำงานและเวลาที่ต้องรอคอย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น